Disable Preloader

ข่าวสาร



เพื่อผลิตพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (Parent Stock : PS) สำหรับใช้เองในประเทศ โดยไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2561 ที่ผ่านมา พบว่ามีการขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับปี 2560 มาจากการขยายตัวของสาขาพืช ปศุสัตว์ บริการทางการเกษตร และป่าไม้ และคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรปี 2562 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.5-3.5 ในทุกสาขา
 
ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนความสำเร็จสของวงการเกษตรไทย ที่เกิดจากความมุ่งมั่นในการปฏิรูปภาคเกษตรของภาครัฐ ตลอดจนความร่วมมือของภาคเอกชนและเกษตรกร เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับอุตสาหกรรมเกษตรของไทย โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมาที่ได้นำเอาหลักการตลาดนำการผลิตมาใช้ ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาทั้งกระบวนทัศน์การผลิตสินค้าเกษตรไทย
 
การพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่เพียงสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้กับเกษตรกรไทยได้อย่างชัดเจน  หากแต่ยังสร้างความมั่นคงทางอาหาร (Food security) ให้กับทั้งประชาชนไทยและผู้บริโภคในระดับโลกด้วย เพราะผลผลิตที่ได้จากฝีมือเกษตรกรไทยได้มาตรฐานสากล มีความปลอดภัยทางอาหาร เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก
 
จากการเฝ้าติดตามการพัฒนาภาคเกษตรมาโดยตลอด และหลายต่อหลายครั้งที่ได้เห็นความพยายามในการสร้างเสถียรภาพให้กับสินค้าเกษตร กระทั่งล่าสุดกับความสำเร็จในการแก้ปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำ จากความร่วมมือของทั้งภาครัฐ เอกชน และเกษตรกรผู้เลี้ยง ทำให้ราคาไข่ไก่ฟื้นอีกครั้ง หลังจากคนในวงการไข่ไก่ต้องแบกรับภาระขาดทุนมานานกว่าปีครึ่ง
 
ท่ามกลางความร่วมมือฝ่าฟันปัญหาของทุกภาคส่วนในครั้งนี้ มีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจและสอดคล้องกับการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศ ด้วยการนำเข้าไก่ไข่ระดับปู่ย่าพันธุ์ (Grand Parent Stock : GP) เพื่อผลิตพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (Parent Stock : PS) สำหรับใช้เองในประเทศ โดยไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ
 
เรื่องนี้เป็นแนวคิดของผู้บริหารซีพีที่เป็นผู้นำเข้า GP รายเดียวของไทย แม้จะรู้ทั้งรู้ว่าเป็นเรื่องยากไม่เหมือนการเลี้ยงไก่ทั่วไปก็ตาม แต่เมื่อมองลึกไปถึงสาเหตุว่าทำไมบริษัทนี้ ถึงลงทุนนำเข้า GP เพื่อผลิต PS จึงถึงบางอ้อ เพราะเกิดจากความหวั่นเกรงว่าหากมีโรคระบาดเกิดขึ้น อุตสาหกรรมนี้ย่อมได้รับผลกระทบโดยตรง ดูได้จากเมื่อปี 2558 ที่เกิดวิกฤติไข้หวัดนกระบาดในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุดเท่าที่สหรัฐฯเคยพบมา ทำให้ไทยต้องชะลอการนำเข้า PS จากสหรัฐฯ และประเทศในแถบยุโรปอีกหลายประเทศ ที่เป็นแหล่งผลิตพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ป้อนให้กับไทย เพื่อป้องกันไม่ให้โรคไข้หวัดนกเข้าสู่ไทยได้ตามมาตรฐานของ OIE ส่งผลให้จำนวนไก่ PS ลดลง กระทบกับปริมาณไข่ไก่ในประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
 
ข้อเสนอที่ให้บริษัทผู้ประกอบการที่นำเข้า PS ในประเทศที่มีถึง 15 ราย หันมารวมตัวกันนำเข้าและเลี้ยง GP  ผลิต PS ใช้เอง จะช่วยสร้างเสถียรภาพให้อุตสาหกรรมไก่ไข่ของประเทศ และยังช่วยประหยัดเงินตราไม่ให้รั่วไหลออกนอกประเทศ จากการนำเข้าไก่ PS ที่สำคัญยังเป็นการสร้างความมั่นคงในอุตสาหกรรม เพราะไม่ต้องพึ่งการนำเข้า ไม่ต้องผูกอนาคตไว้กับต่างชาติ โดยให้กรมปศุสัตว์เป็นผู้กำกับดูแลเรื่องนี้จึงกลายเป็นความมั่นคงในอุตสาหกรรม ไม่ใช่เฉพาะบริษัทเดียว ยังเป็นของทุกบริษัท และของเกษตรกรทุกคนด้วย นับเป็นอีกแนวคิดที่ดี ในการแก้ปัญหาปริมาณผลผลิตไข่ไก่ ช่วยรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่อีกทางหนึ่ง
 
หากแต่ที่ผ่านมาที่ไม่มีใครลงทุนเลี้ยงปู่ย่าพันธุ์ GP ก็เพราะต้องลงทุนค่อนข้างสูง กระบวนการเลี้ยงยากลำบาก การดูแลบริหารจัดการละเอียดกว่าการเลี้ยงทั่วไปมาก การให้ผลผลิตต่ำกว่าปกติที่เลี้ยงกัน ซึ่งเรื่องนี้ไม่น่าจะเกินความสามารถของเกษตรกรไทย ขอแค่ร่วมมือร่วมใจและตกลงกันให้ดี เชื่อว่านี่จะกลายเป็นอีกทางออกเพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมไก่ไข่ไทย.

ที่มา ข้อมูลและรูป http://www.bangkokbiznews.com

Tags: ผ่อดีดี,PODD,พีโอดีดี,ศูนย์ผ่อดีดีกลาง